กิจกรรม31 ม.ค - 4 ก.พ. 54













กิจกรรม31 ม.ค - 4 ก.พ. 54

ตอบ 2.ข ค และง
พิจารณา ข้อ ข.
การเหม็นหืนของไขมัน (Rancidity)


การเหม็นหืนของไขมัน คือ การที่ไขมันมีกลิ่นผิดปกติระหว่างการเก็บ การเหม็นหืนอาจเกิดจากการที่อาหารเก็บไว้ในภาชนะเปิด ทำให้ไขมันทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ โดยเฉพาะเมื่อมีแสงและความชื้น จะได้กรดไขมันอิสระเกิดขึ้น และจะเปลี่ยนเป็นอัลดีไฮด์และกรดไขมันที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ทำให้มีกลิ่นเหม็นและรสชาติเปลี่ยนไป น้ำมันสัตว์มีกลิ่นเหม็นหืนเร็วกว่าน้ำมันพืช ถึงแม้ว่าน้ำมันพืชจะมีปริมาณของกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวมากกว่า แต่น้ำมันพืชมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารป้องกันการเติมออกซิเจนอยู่แล้วตามธรรมชาติ


พิจารณา ข้อ ค.
ปฏิกิริยาในน้ำอัดลม


กรดคาร์บอนิก (H2CO3) ในน้ำอัดลม เมื่อมีการสลายตัวจะให้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังปฏิกิริยา


H2CO3(aq) → H2O(l) + CO2(g)
พิจารณา ข้อ ง.

เอทธิลีน (C2H4, H2C = CH2) เป็นฮอร์โมนพืชตัวเดียวที่อยู่ในรูปแก๊ส เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้น เพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาต่างๆ เช่นการออกดอก การสุกของผล พบในธรรมชาติ และในควันไฟ

ประวัติการค้นพบ

Cousins(1910) เป็นคนแรกที่เสนอว่าผลไม้มีการปลดปล่อยแก๊สซึ่งกระตุ้นการสุก เขาพบว่าส้มที่เก็บไว้ร่วมกับกล้วยจะสุกก่อนเวลา (premature)
Gane (1934) ชาวอังกฤษได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พืชสามารถสร้างเอทธิลีนได้ และเอทธิลีนทำหน้าที่เร่งกระบวนการสุก
Crocker et al. (1935) เสนอว่าเอทธิลีนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผลไม้สุก และทำหน้าที่เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในต้นพืชด้วย

การสังเคราะห์เอทธิลีน
เอทธิลีนเป็นแก๊สที่ไม่มีสี มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ติดไฟได้ง่าย เอทธิลีนถูกสร้างขึ้นในพืชและในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด สารต้นกำเนิดของเอทธิลีนในพืชคือ กรดอะมิโน เมทไธโอนีน โดยมีเอนไซม์ peroxidase เป็นตัวเร่งปฎิกริยา และมี flavin mononucleotide และ ion ของโลหะเป็น co-factor
คุณสมบัติของเอทธิลีน และความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและการเกิดปฏิกริยา

เอทธิลีนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 28.05 มีจุดเดือด ประมาณ 103 C ไม่มีสี ติดไฟง่าย เบากว่าอากาศและละลายน้ำได้ดี (315 l/L ที่ 0 C, 140 l/L ที่ 25 C) จากการศึกษาถึง โครงสร้าง/การเกิดปฏิกริยา ของสารไฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ

ตอบ 2. B ผสมกับ C เกิดปฎิกิริยาดูดความร้อน

ตอบ 4.phน้อยกว่า7 สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยปูนเเละหินอ่อนเสียหาย
ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝนปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6 ฝนกรดส่วนมากพบในบริเวณศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ตะกอนกรดสามารถอยู่ในรูปของฝน หมอก หิมะ และมีผลกระทบต่อพืช สัตว์น้ำ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ลมที่พัดแรงสามารถพัดพาอนุภาคกรดไปพื้นที่อื่นได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร

ตอบ 1. ก ข และ ค เท่านั้น
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (อังกฤษ: hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง

ตอบ 2.
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี

ตอบ 4

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Image:Atom.png
เวเลนต์อิเล็กตรอน ( Valence Electron ) : อิเล็กตรอนของอะตอมที่บรรจุอยู่ในเวเลนต์เชลล์ซึ่งใช้ในการเกิดพันธะเคมี

ตอบ 3
MgSO4 ป้องกัน cerebral palsyDwight J. Rouse et al. A Randomized, Controlled Trial of Magnesium Sulfate for the Prevention of Cerebral Palsy. N Engl J Med 2008; 359:895-905.
เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อภาวะ ผิดปกติทางระบบประสาท เช่น cerebral palsy (CP) ซึ่งแนวโน้มความชุกของความพิการนี้ยังไม่ลดลง เนื่องจากความสามารถทางการแพทย์ในการดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนดดีขึ้น เด็กกลุ่มนี้จึงมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นกว่าอดีต. ก่อนหน้านี้มีการศึกษา case-control ในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดพบว่า กลุ่มที่มารดาคลอดเด็กที่ไม่มีภาวะ CP นั้นมีประวัติว่ามารดาได้รับ MgSO4 ในช่วงก่อนคลอด ทำให้เกิดสมมติฐานว่า MgSO4 อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อ CP ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด.

การทดลองร่วมกันของสถาบัน 20 แห่งในสหรัฐอเมริกา MgSO4 ทางหลอดเลือด 6 กรัม ตามด้วยการให้ทางหลอดเลือดอย่างต่อเนื่องขนาด 2 กรัมต่อชั่วโมงแก่สตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด (โดยให้อายุครรภ์ระหว่าง 24-31 สัปดาห์) พบว่าทารกของกลุ่มที่ได้ MgSO4 มีความเสี่ยงต่อภาวะ CP น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (1.9% vs. 3.5%, RR 0.55, 95% CI 0.32, 0.95) สำหรับความเสี่ยงต่อการตายของทารกนั้น ไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง กลุ่มทั้งสอง (95%, vs. 8.5%, RR 1.12, 95%CI 0.85, 1.47) ไม่มีการเกิดเหตุเสียชีวิตของมารดาในการศึกษานี้.

ข้อสรุป ทารกที่มารดาได้รับ MgSO4 ก่อน ครบกำหนด ลดความเสี่ยงต่อ cerebral palsy เสียชีวิต.

ผลจากการศึกษานี้นำไปสู่คำถามว่าควรมีข้อแนะนำในการใช้ MgSO4 ในการป้องกันภาวะ cerebral palsy หรือไม่
บทบรรณาธิการในวารสารฉบับเดียวกันให้คำตอบว่า ไม่ จนกว่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้.
http://www.doctor.or.th/node/7170


ตอบ 4

พันธะโคเวเลนต์ คือพันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอะตอม 2 อะตอมนำอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน (โดยทั่วไปแล้วหมายถึงอะตอมของธาตุหมู่ IVA, VA, VIA และ VII )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น